top of page
กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงาน
"อีกเส้นทางที่หลายคนขอกรีนการ์ดได้
ถูกต้องตามกฏหมายในอเมริกา" 

"สิ่งที่เราทำ คือ การทำให้ทุกคนได้เห็นโอกาส" ในโครงการ กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงาน กรีนการ์ด greencard อเมริกา กรีนการ์ดผ่านการจ้างงาน ฝึกงานต่างประเทศ ฝึกงานอเมริกา เรียนต่ออเมริกา วีซ่า วีซ่าอเมริกา  

เริ่มทำงานโดยกรีนการ์ด, greencard, อเมริกา, กรีนการ์ดผ่านการจ้างงาน
เริ่มต้นทำงานใหม่ โดยกรีนการ์ด, greencard, อเมริกา, กรีนการ์ดผ่านการจ้างงาน
วางแผนชีวิต โดยกรีนการ์ด, greencard, อเมริกา, กรีนการ์ดผ่านการจ้างงาน

โครงการ กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงานเป็นโครงการของรัฐบาลสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่ประสบปัญหาขาดแคลนลูกจ้าง ทางรัฐบาลสหรัฐฯ การันตีการให้กรีนการ์ดผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากร คุณสมบัติผู้สมัครกรีนการ์ด (ผู้พำนักอาศัยที่อเมริกาถาวร) ผ่านการจ้างงาน ควรพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้และมีจริยธรรมในการทำงาน

AEC USA, LLC (สำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา) จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการแนะนำบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่เปิดรับสมัครลูกจ้างจากต่างประเทศ ผ่านโครงการ EB-3 ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะเป็น สปอนเซอร์กรีนการ์ดผ่านการจ้างงานให้กับผู้สมัคร นายจ้างเป็นผู้สัมภาษณ์และผู้พิจารณา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครงานกับนายจ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม และนายจ้างไม่ได้รับเงินใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินการ สำหรับผู้สนใจโครงการนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่าทนายความในอเมริกาในการดำเนินการ ค่าที่ปรึกษา ค่าเอกสารต่างๆ และต้องทำงานให้กับนายจ้างสหรัฐตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้าง สรุปภาพรวมของโครงการ EB-3 ผ่านการจ้างงาน จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือบริษัท/นายจ้าง ในสหรัฐอเมริกาที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งหากผู้สมัครมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์การสมัคร ผู้สมัครจะได้รับการันตีกรีนการ์ดและการจ้างงานจากนายจ้าง คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครจะต้องมีจริยธรรม จรรยาบรรณ ในการทำงาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิดและจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม อัตราค่าจ้างที่ผู้สมัครจะได้รับจะขึ้นอยู่กับรัฐและประเภทอุตสาหกรรม

 

คุณสมบัติผู้สมัคร โครงการ กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงาน

            •  หมวดหมู่ย่อย: กลุ่มแรงงานไม่มีทักษะ (แรงงานอื่น ๆ) 

            •  ในระหว่างการยื่นคำร้องและดำเนินการสมัครเข้าสู่ระบบ ผู้สมัครจะต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถทำงานแรงงานได้ (มีประสบการณ์การฝึกงานหรือทำงานน้อยกว่า 2 ปี) ซึ่งจะต้องเป็นงานประจำไม่ใช่งานชั่วคราว หรือ ไม่ใช่งานที่ทำตามช่วงฤดูกาล และนายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้แก่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เห็นว่าไม่สามารถหาแรงงานสหรัฐฯ มาปฏิบัติงานดังกล่าวได้

            •  ไม่มีประวัติอาชญากรรม และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด

            •  สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้

ขั้นตอนการดำเนินการ

ขั้นตอนการดำเนินการมี 2 ช่วง ดังนี้

1) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ออกใบรับรองแรงงาน พิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ยุติธรรมต่อแรงงาน และยืนยันการประสบปัญหาการขาดแรงงานของนายจ้าง

2) สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS) ทำการยืนยันตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ออกวีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวร EW-3 (Other Worker)

 

ขั้นตอนการยื่นเอกสาร โครงการ กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงาน 

ขั้นตอนที่ 1: กำหนดค่าจ้าง: นายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์

จุดประสงค์:  ทางกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ทางนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง(ผู้สมัคร) โครงการ กรีนการ์ด EB-3 ผ่านการจ้างงาน 

กระบวนการปฏิบัติ:  นายจ้างยื่นเอกสารในการกำหนดค่าจ้างต่อกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

เงื่อนไข:  ใบสมัครจะต้องมีชื่อบริษัท(นายจ้าง) หมายเลขประจำตัวผู้ประกอบการ ปีที่ก่อตั้งบริษัท จำนวนพนักงาน รายละเอียดของงาน สถานที่จ้างงาน และ ข้อกำหนดขั้นต่ำของลูกจ้างในตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร

ข้อพิจารณา:  หลังจากนายจ้างส่งใบสมัครตามเงื่อนไขที่กำหนด กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จะทำการกำหนดค่าจ้างตามตำแหน่งที่นายจ้างเปิดรับสมัคร

ระยะเวลาในการดำเนินการ:  ใบรับรองกำหนดค่าจ้าง (Wage certification) ใช้เวลาประมาณ 90 วัน

ข้อผูกมัด:  หลังจากนายจ้างได้รับใบรับรองค่าจ้างจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ นายจ้างมีสิทธ์พิจารณาว่าจะดำเนินการต่อหรือยกเลิกการสมัคร ซึ่งขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับค่าจ้างขั้นต่ำที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ กำหนด ซึ่งนายจ้างจะพิจารณาว่าคุ้มต้นทุนที่จะจ่ายค่าจ้างตามที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ กำหนดหรือไม่

ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการรับสมัครงาน: นายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์

จุดประสงค์:  ในการขั้นตอนรับสมัครงาน นายจ้างจะต้องทำการพิจารณาว่ามีลูกจ้างชาวอเมริกันเพียงพอต่อความต้องการของงานหรือไม่

กระบวนการปฏิบัติ: นายจ้างจะต้องพิสูจน์ต่อกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ โดยทำการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานผ่านการโฆษณาและแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีผู้สมัครชาวอเมริกันเพียงพอต่อความต้องการของตำแหน่งงานที่เปิดรับ

เงื่อนไข: จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการรับสมัครพื้นฐาน 3 ขั้นตอน:

            1) นายจ้างต้องลงโฆษณารับสมัครงานในหนังสือพิมพ์วันอาทิตย์ เป็นเวลา 2 วันอาทิตย์

            2) นายจ้างต้องประกาศรับสมัครงานในเว็บไซต์หางานของรัฐ เป็นเวลาต่อเนื่อง 31 วัน

            3) นายจ้างจะต้องติดประกาศรับสมัครงานเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ณ ห้องพักเบรคพนักงาน นายจ้างจะต้องบันทึกข้อมูลทุกอย่างจากการประกาศรับสมัครงานและบันทึกจำนวนผู้สมัคร จำนวนรับเข้าทำงาน และเหตุผลการปฏิเสธการจ้างงาน นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประกาศจ้างงานทั้งหมด

ข้อพิจารณา: ในขั้นตอนนี้ไม่มีข้อพิจารณาเพิ่มเติม

ระยะเวลาในการดำเนินการ: ในขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 90 วัน

ข้อผูกมัด: นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประกาศโฆษณาจ้างงาน หากนายจ้างได้ทำการโฆษณาประกาศจ้างงานก่อนหน้านี้นายจ้างสามารถดำเนินการต่อจากการประกาศก่อนหน้านี้ได้โดยไม่ต้องทำการโฆษณาซ้ำจากเดิม

ขั้นตอนที่ 3: ยื่นใบรับรองการจ้างงาน (Permanent Labor Certification) : นายจ้างที่เป็นสปอนเซอร์

จุดประสงค์: ขั้นตอนนี้นายจ้างต้องยื่นเอกสาร ตำแหน่งงาน ลูกจ้าง ใบรับรองค่าจ้าง และขั้นตอนการรับสมัครงานที่ได้ปฏิบัติไปก่อนหน้านี้ต่อกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

กระบวนการปฏิบัติ: นายจ้างเป็นตัวแทนลูกจ้างต่างชาติในการสมัครและยื่นแบบฟอร์ม ETA Form 9089 

เงื่อนไข: ข้อมูลที่ใช้ในการกรอกแบบฟอร์ม 9089 ประกอบด้วย หน้าที่รับผิดชอบของงานที่เปิดรับสมัคร ข้อกำหนดด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน  และความชำนาญการด้านอื่นๆ ลูกจ้างต่างชาติจะต้องผ่านข้อกำหนดในการปฎิบัติงานที่เปิดรับสมัคร  เอกสารข้อมูลอื่นๆ ของลูกจ้างต่างชาติ ต้องทำผ่านทนายความในอเมริกา ตามแบบขั้นตอนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ กำหนด

ข้อพิจารณา: กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พิจารณาใบสมัครลูกจ้างต่างชาติเป็นรายบุคคลและทำการอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

ระยะเวลาในการดำเนินการ: ในขั้นตอนนี้ดำเนินการผ่านกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4-8 เดือน

ข้อผูกมัด: หลังจากได้รับการอนุมัติ ฟอร์ม 9089 นายจ้างทำการพิจารณาว่าต้องการจะดำเนินการต่อไปยังขั้นตอนสุดท้ายหรือไม่ ข้อปฏิบัติในขั้นตอนสุดท้ายมีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 4: ยื่นขอวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐาน: ลูกจ้างต่างชาติ

จุดประสงค์: จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้เพื่อยื่นเรื่องขอวิซ่าถาวรย้ายถิ่นฐาน ประเภท EB-3 โดยจะต้องทำการยื่นเรื่องไปที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS)

กระบวนการปฏิบัติ:  ลูกจ้างต่างชาติต้องยื่นแบบฟอร์ม I-140 ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS)

เงื่อนไข: ในการยื่นแบบฟอร์ม I-140 ต้องแนบใบรับรองการจ้างงานต้นฉบับ (Permanent Labor Certification) ที่มีการเซ็นจากทั้งสองฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างต่างชาติ พร้อมเอกสารลูกจ้างต่างชาติตามที่กำหนด

ข้อพิจารณา: สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS) พิจารณาและออกอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แบบฟอร์ม I-140

ระยะเวลาในการดำเนินการ: ระยะะเวลาในดำเนินการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS) ประมาณ 5-7 เดือน

ข้อผูกมัด: หลังจากที่แบบฟอร์ม I-140 ได้รับการอนุมัติ, นายจ้างต้องจัดทำหนังสือเสนอจ้างงานอย่างเป็นทางการ "Official Offer" ให้ลูกจ้างต่างชาติ เพื่อใช้ยื่นขอวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐาน หากนายจ้างไม่ออกใบเสนอจ้างงาน ลูกจ้างต่างชาติต้องหานายจ้างรายใหม่

ขั้นตอนที่ 5: การสมัครขอเป็นผู้พำนักอาศัยถาวร (กรีนการ์ด): ลูกจ้างต่างชาติ 

ลูกจ้างต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการขั้นตอนนี้ โดยจะต้องยื่นสมัครขอวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐานและกรอกแบบฟอร์มการสมัครกับศูนย์วีซ่าแห่งชาติ (National Visa Center) หลังจากผ่านขั้นตอนพิจารณายื่นขอวีซ่าแล้ว ลูกจ้างต่างชาติ/ผู้สมัครต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศเกิดของผู้สมัคร

ขั้นตอนที่ 6: ได้รับวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐานผ่านการจ้างงาน: ลูกจ้างต่างชาติ

หลังจากลูกจ้างต่างชาติ/ผู้สมัครได้รับวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐานผ่านการจ้างงาน ลูกจ้างต่างชาติต้องเดินทางมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อรายงานตัวต่อนายจ้าง

ข้อรับผิดชอบที่ลูกจ้างต่างชาติต้องปฏิบัติ

ลูกจ้างต่างชาติรับผิดชอบจ่ายค่าเดินทางมายังสหรัฐอเมริกา ค่าเดินทางภายในประเทศ ค่าที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ  ลูกจ้างต่างชาติรับผิดชอบจ่ายค่าสมัครวีซ่าให้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศบ้านเกิดของตน ซึ่งค่าสมัครวีซ่านี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายในการยื่นขอทำวีซ่าถาวรย้ายถิ่นฐานผ่านการจ้างงาน ลูกจ้างต่างชาติรับผิดชอบจ่ายค่าดำเนินการให้กับบริษัทที่ปรึกษาและค่าทนายความในอเมริกาที่ดำเนินเรื่องให้ในสหรัฐอเมริกา ลูกจ้างต่างชาติไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายค่าดำเนินการขอใบรับรองงานจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

ระยะเวลาโครงการ

EB-3 คือ วืซ่าถาวรย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเปลี่ยนเป็น กรีนการ์ด 10 ปี ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสามารถต่ออายุกรีนการ์ดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนด

สิทธิ และ หน้าที่รับผิดชอบ ของผู้ถือกรีนการ์ด (ผู้พำนักอาศัยถาวร)

 

สิทธิในฐานะผู้พำนักอาศัยถาวร

ผู้พำนักอาศัยถาวร (ผู้ถือกรีนการ์ด), มีสิทธิ ดังต่อไปนี้:

            •  สิทธิในการอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาอย่างถาวร และจะต้องไม่กระทำการใดๆ ให้ถูกตัดสิทธิที่อยู่ภายใต้กฎหมายคนเข้าเมือง

            •  ทำงานที่ถูกกฎหมายของประเทศสหรัฐและสามารถสมัครงานตามคุณสมบัติที่ตนมี (ในบางงานจะกำหนดให้กับสัญชาติอเมริกันเท่านั้นเนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคง)

            •  สิทธิในการได้รับคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฏหมายของรัฐที่ตนอยู่

 

หน้าที่รับผิดชอบผู้ถือกรีนการ์ด มีดังต่อไปนี้

ในฐานะของผู้ถือกรีนการ์ด มีหน้าที่รับผิดชอบ :

            •  ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาและกฎหมายของรัฐที่ตนอยู่

            •  ต้องยื่นขอคืนภาษี และรายงานรายได้ต่อกรมสรรพากรและหน่วยงานภาษีของรัฐที่อาศัยอยู่

            •  ให้การสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และไม่เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยผิดกฎหมาย

            •  เพศชายอายุระหว่าง 15-25 ปี ต้องทำการลงทะเบียน ระบบกำลังพลสำรอง

 

การรักษาสิทธิผู้พำนักอาศัยถาวร หรือ ผู้ถือกรีนการ์ด

หลังจากได้สิทธิเป็นผู้ถือกรีนการ์ดอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ถือกรีนการ์ดสามารถถือสิทธิได้จนกว่าจะดำเนินการดังต่อไปนี้

            •  สมัครขอสัญชาติอเมริกัน หรือ

            •  ถูกถอนสิทธิโดยกระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือ ละทิ้งสิทธิด้วยตัวเอง ผู้ถือกรีนการ์ดอาจเสียสิทธิหรือยกเลิกสิทธิได้ หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

 

เงื่อนไขของผู้พำนักอาศัยถาวร (ผู้ถือกรีนการ์ด) 

มาตรา 216 แห่ง พรบ. ตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติสหรัฐอเมริกา อนุญาติให้บุคคลอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาอย่างถาวรแบบมีเงือนไข ผ่านการแต่งงาน

มาตรา 216A อนุญาติให้บุคคลอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาอย่างถาวรแบบมีเงือนไข ผ่านการลงทุน 

ในสองกรณีข้างต้น ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ สามารถถอนสิทธิผู้ถือกรีนการ์ดได้ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่ทุจริต เป็นต้น 

ในกรณีผู้ถือกรีนการ์ดถูกดำเนินการเพิกถอนสิทธิผู้ถือกรีนการ์ดอาจยื่นเรื่องให้ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ ทำการตรวจสอบคดีอีกครั้ง ก่อนที่คดีจะไปถึงศาล

 

ขั้นตอนการเพิกถอนสิทธิ 

ผู้ถือกรีนการ์ดจะถูกเพิกถอนสิทธิในการถือกรีนการ์ดทันที หากศาลพิจารณาว่าผิดจริง 

มาตรา 212 และ 237 แห่ง พรบ. ตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติสหรัฐอเมริกา อธิบายว่าศาลสามารถสั่งถอดถอนสิทธิและผู้ถูกถอนสิทธิต้องเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ละทิ้งสถานะภาพผู้พำนักอาศัยถาวร (กรีนการ์ด)

ผู้ถือกรีนการ์ดอาจเสียสถานะของตนโดยเจตนา หากกระทำการต่อไปนี้

            •  ย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ เจตนาที่จะตั้งถิ่นฐาน ณ ประเทศนั้นๆ อย่างถาวร

            •  อาศัยอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาเกินเวลาที่กำหนด ยกเว้นในกรณีที่ชี้แจงสาเหตุของการอาศัยอยู่นอกประเทศเป็นการชั่วคราวต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ต้องแสดงสาเหตุดังต่อไปนี้

            o  เหตุผลในการเดินทาง

            o  ระยะเวลาที่จะอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา

            o  มีสาเหตุในการเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาอื่นๆ อีกหรือไม่

            o  สถานการณ์ที่อาจยืดระยะเวลาการอาศัยอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา

            o  หมายเหตุ: จะต้องทำการแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และได้รับเอกสารอนุญาติเดินทางกลับเข้าประเทศก่อนเดินทาง หรือได้รับวิซ่าเดินทางกลับเข้าประเทศ (SB-1) จากสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในประเทศที่จะเดินทางไป ซึ่งเอกสารข้างต้นจะต้องใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ

            •  ไม่ทำการยื่นเรื่องขอคืนภาษี (ถึงแม้อยู่ต่างประเทศก็ต้องทำเรื่องยื่นขอคืนภาษี)

            •  แจ้งในใบขอคืนภาษีว่า ไม่ใช่ ผู้พำนักอาศัยถาวร (ผู้ถือกรีนการ์ด)

 

รายงานการถูกถอนสถานะผู้พำนักอาศัยถาวร (กรีนการ์ด)

ในบทบัญญัติแห่ง ประมวลรัษฎากร มาตรา 6039G(d)(3) กล่าวว่า กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิจะต้องแจ้งสำนักงานสรรพากรห ากมีการเพิกถอนสถานะผู้อยู่อาศัยถาวร ในสาเหตุต่อไปนี้

            •  ถูกสั่งให้ออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ 

            •  ผู้ถือกรีนการ์ดเลือกที่จะละทิ้งสถานะของตนและทำการเวนคืนกรีนการ์ด 

 

ครอบครัวสามารถสมัครผ่านโครงการ EB-3 ด้วยได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้ หลังจากผู้สนใจทำการสมัคร สามี หรือภรรยา และบุตรอายุไม่เกิน 21 ปี สามารถขอกรีนการ์ดร่วมกันได้

 

ค่าใช้จ่าย

ผู้สมัครทำการเซ็นเงื่อนไขและข้อกำหนด โดยยินยอมที่จะเตรียมค่าใช้จ่ายให้เพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าเช่าบ้านเดือนแรก ค่ามัดจำบ้าน และค่าธรรมเนียมใบสมัคร จนกว่าจะได้รับเงินเดือน เดือนแรก

ผู้สมัครมีหน้าที่รับผิดชอบในการหาข้อมูลในเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพในรัฐที่ตนจะเดินทางไป (ตัวอย่างเช่นค่าเช่าบ้าน, ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น) ค่าครองชีพจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรัฐที่จะเดินทาง

 

ตัวอย่างค่าครองชีพในสหรัฐอเมริกา

            •  ค่าตั๋วเครื่องบิน

            •  ค่าเดินทางไปยังสถานที่ผึกงาน/ทำงาน (ประมาณ: $50-$60)

            •  ค่ามัดจำและค่าเช่าบ้านเดือนแรก (ประมาณ: $700-$1000 ต่อเดือน, ค่ามัดจำจะเท่ากับค่าเช่าบ้าน 1 เดือน)

 

ค่าบ้านอื่นๆ

            •  ค่าสาธารณูปโภค (ประมาณ: $50 ต่อเดือน)

            •  ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ (ประมาณ: $50 สำหรับโปรพื้นฐาน)

            •  ค่าเคเบิ้ลทีวี (ประมาณ: $50 ต่อเดือน)

 

ค่าครองชีพ

            •  อาหาร (ประมาณ: $4-$10 ต่อมื้ออาหาร)

            •  ของใช้ในห้องน้ำ (ประมาณ: $50 ต่อเดือน)

            •  ซักผ้า (ประมาณ: $20 ต่อเดือน)

            •  ค่าเดินทาง

            o รถเมลล์ (ประมาณ: $1 ต่อเที่ยว)

            o แทกซี่ (ประมาณ: $2.50 + $.30 ต่อ ¼ ไมล์ + ทิป 10 เปอร์เซ็นต์)

            •  ด้านความบันเทิง

            o ค่าโรงหนังภาพยนตร์ (ประมาณ: $12)

            o คอนเสริต (ประมาณ: $30-$50)

 

ค่าครองชีพในเมืองต่างๆในสหรัฐ

            •  เพื่อความปลอดภัยควรนำเงินสด เช็คเดินทาง หรือบัตรเครดิต มาด้วยอย่างน้อย $1000        

            •  ศึกษาหาข้อมูลค่าครองชีพในเมืองที่จะเดินทางไป

            •  ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาอาหารตามร้านอาหาร, ราคาสินค้าตามซุปเปอร์มาร์เกต, ค่าเดินทาง, ค่าสาธารณูปโภค, กีฬาและการเดินทางท่องเที่ยวของแต่ละเมือง โดยหาในเว็บไซต์ของเมืองที่จะเดินทางไป

หาข้อมูลค่าครองชีพแต่ละรัฐได้ที่  http://www.numbeo.com/cost-of-living/country_result.jsp?country=United+States

 

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการและเงื่อนไขต่างๆ ตรวจสอบได้ที่ http://www.uscis.gov/working-united-states/permanent-workers/employment-based-immigration-third-preference-eb-3 

bottom of page