บางครั้งการมีตัวเลือกเปรียบเทียบก็ดี แต่บางครั้งทำให้เราตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกทางไหน มันขึ้นอยู่กับว่า เราฟังจากใคร ลองกลับมาดูที่ตัวเอง และตัดสินใจด้วยตัวเองสักครั้ง
ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นการเข้าถึงข้อมูลหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงว่าที่ไม่รู้ แปลว่าไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เรายังค้นหาเส้นทางที่จะเดินไปไม่เจอต่างหาก โดยเฉพาะยุคแห่ง Social Network ทำให้นึกถึงสมัยก่อนที่มีจดหมายลูกโซ่ ข่าวลือ ที่ส่งต่อๆ กันไป แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นยังมีคงอยู่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนชื่อในการส่ง จากกระดาษ มาเป็น Social Network ดังนั้นการรับข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องสังเกตแหล่งอ้างอิง และที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์ภาครัฐ หรือ กระทรวงต่างๆ เป็นต้น ในเมื่อมีโอกาสที่เราจะค้นหาเส้นทางที่เหมาะกับเราที่สุด แล้วทำไมเราจะไม่ค้นหา? ทั้งการวางแผนชีวิต การวางแผนการเรียน การทำงาน หลายคนอยากไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ เรียน ทำงาน และอยู่ต่างประเทศ เป็นอีกความฝันที่จะไปล่าให้ได้ แล้วกลับมาเกษียณที่เมืองไทยของเรา หากคุณมีความฝันเช่นกัน เคยวางแผนและศึกษาข้อมูลถึงจุดไหนแล้ว? มีความฝัน แล้วต้องลงมือทำ เชื่อเราทำได้ ใจเราทำได้ การกระทำเกิดขึ้น แล้วเราจะรู้การวางแผนของเรา
อเมริกา เป็นแหล่งรวมที่ใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบัน แต่ละคนมีมุมมองแตกต่างกันไป สิทธิ เสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นเราเท่าเทียมกัน การไปเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกา มีค่าใช้จ่ายสูงมาก คนไทยไม่ค่อยนิยม เรานิยมไปเรียน ปริญญาโท ใช้เวลาเรียน 2 ปี หรือ มากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผน สังเกตหลายคนไปเรียน และทำงานไปด้วย เคยเห็นนักเรียนไทยมาทำงานด้านนอกด้วย ถามว่าผิดกฏหมายไหม เพราะการไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ F-1 visa ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะไปเรียนภาษา หรือ เรียนระดับมหาวิทยาลัย ในหลักการผิดแน่นอน แต่สำหรับมหาวิทยาลัย ถ้าทางมหาวิทยาลัยมีหนังสืออนุญาตให้ทำงานได้ตามชั่วโมงและสถานที่มหาวิทยาลัยระบุเท่านั้นจะสามารถทำได้ สำหรับเรียนภาษา ผิดกฏหมาย 100% แต่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเลือกที่จะทำเช่นนั้น เพื่อหาเงินใช้ในชีวิตประจำวัน หรืเหตุผลต่าง ๆ แล้วเมื่อเรียนจบแล้ว วางแผนชีวิตอย่างไร? วีซ่า F-1 มีอายุ 5 ปี ยังเหลืออีก 3 ปี จะลงเรียนอะไรต่อ เพื่อให้มีสถานะอยู่ที่อเมริกา หรือ จะไปสมัครงานกับนายจ้าง แต่ก็ทำไม่ได้ ถ้านายจ้างไม่ Sponsor H1-B visa ให้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง และสร้างความลำบากให้กับนายจ้าง ถ้าเราไม่เจ๋งจริง ก็คงจะไม่ได้ H1-B ที่จะทำงานที่อเมริกา แถมต่ออายุทุก 2 ปี ขึ้นอยู่กับนายจ้าง ถ้าไม่ได้งาน บินกลับไทย มาทำงานเงินเดือนทั่วไป แล้วเราลงทุนไปเรียนที่อเมริกา จ่ายค่าเทอมไป 2-3 ล้านเพื่อกลับมาทำงานรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย?
เราลองมองวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เมื่อจบ high school จะขอ scholarship แล้วทำงานเก็บเงินตั้งแต่ Freshman ใน high school เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และเก็บไว้สำหรับเรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือ ตอนจบ ปริญญาตรีก็มาทำงานเก็บเงินก่อน แล้วค่อยไปเรียนต่อปริญญาโท ถ้าสนใจ แล้วเลือกสาขาที่เกี่ยวกับอาชีพที่ต้องการทำจริงๆ ไม่ใช่แค่เรียนให้จบ ทำไมเราไปทำแบบนี้ไม่ได้บ้าง? คำตอบ คือ ทำได้ เราแค่ไม่เจอเส้นทางเท่านั้นเอง เส้นทางที่สามารถทำได้ แต่เราไม่เคยสนใจ หรือ ไม่ได้ลงไปศึกษาข้อมูลจริง เพราะเราฟังมาแต่ข่าวลือ ฟังคนเล่าต่อๆ กันมา เลยคิดว่าทำไม่ได้ การไปทำงาน เรียน หรือ ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา อย่างถูกต้องตามกฏหมาย คำตอบคือ กรีนการ์ด หรือ Permanent Resident นั่นเอง เมื่อเราได้กรีนการ์ด เราสามารถไปเริ่มต้นทำงาน เก็บเงิน อยากทำงานอะไรก็ได้ เป็นสิทธิของเรา จะลงเรียนต่อก็ได้ ทำงานระหว่างเรียนไปด้วยก็ได้
ลองเปรียบเทียบค่าเทอม MBA ระหว่างถือวีซ่า F-1 และ Green Card
Rank #18: University of North Carolina--Chapel Hill (Kenan-Flagler)
$34,015 per year (full-time, in-state)
$52,470 per year (full-time, out-of-state)
Rank#27: Texas A&M University--College Station (Mays)
$7,929 per year (full-time, in-state)
$20,319 per year (full-time, out-of-state)
Rank#33 Tie: University of Texas—Dallas
$15,242 per year (full-time, in-state)
$30,866 per year (full-time, out-of-state)
Rank#33 Tie: University of Wisconsin—Madison
$13,183 per year (full-time, in-state)
$26,678 per year (full-time, out-of-state)
Rank 37 Tie# Michigan State University (Broad)
$28,278 per year (full-time, in-state)
$44,860 per year (full-time, out-of-state)
ถ้าเปรียบเทียบจะสังเกต in-state ค่าเทอมจะต่ำกว่าครึ่งของ out-of-state และแน่นอน กรีนการ์ด มีสิทธิ์ในการจ่ายค่าเทอมแบบ in-state โดยมีถิ่นฐานพักอาศัยอยู่ในรัฐนั้นอย่างน้อย 12 เดือนขึ้นไป แล้ว F-1 จ่ายค่าเทอมแบบ out-of-state ดังนั้นเรียน 2 ปี ถ้าถือกรีนการ์ด ลดค่าเทอมไปได้ 2-3 หมื่นเหรียญ ที่สำคัญกรีนการ์ด สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่ง F-1 ไม่สามารถทำได้ และหลังจากเรียนจบ กรีนการ์ด ก็สามารถทำงานได้เลย ไม่ต้องให้นายจ้าง Sponsor H1-B visa ส่งผลให้นายจ้างตัดสินใจรับเราเข้าทำงานง่ายขึ้น
แล้ว การขอกรีนการ์ดง่ายขนาดนั้นหรอ?
คำตอบ ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของเรา
การขอกรีนการ์ด สามารถยื่นขอได้ 4 ประเภทหลัก คือ
1. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (Immigration through a Family Member)
2. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงาน (Immigration through Employment)
3. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางโครงการเสี่ยงโชคกรีนการ์ด (Immigration through the Diversity Lottery)
4. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านการลงทุน (Immigration through Investment)
คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักประเภทที่ 1 และ 3 ส่วนประเภทที่ผ่านการจ้างงาน กับ ผ่านการลงทุน คนไทยจะไม่ค่อยรู้จัก แต่การลงทุนพอได้ยินบ้าง แต่ผ่านการจ้างงานแทบไม่รู้จักเลย เมื่อลงรายละเอียดว่า การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงานมี 5 ประเภท คือ EB-1, EB-2, EB-3, EB-4 และ EB-5 ส่วนใหญ่ก็จะไม่รู้จักเลย ตอนนี้ชี้ให้เห็นเส้นทาง คือ EB-3 ซึ่งมี Sub-category คือ Skilled Workers, Professionals และ Unskilled Workers (Other Workers) ใน 2 อันแรกยากเพราะแข่งขันสูง ส่วน Unskilled workers เป็นช่องทางที่เหมาะที่สุด และการแข่งขันไม่สูงมาก ถ้ามองเห็นเส้นทางแล้ว ด้านแรกที่ทำให้ไปต่อไม่ได้คือ การหานายจ้างที่ได้รับการรับรองจาก Department of Labor (DOL) ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินงานที่โรงงานสับไก่ หรือ งานทำความสะอาด เป็น unskilled worker สามารถขอการรับรองจาก DOL ได้ไหม คำตอบคือขอได้จริง แต่นายจ้างต้องเป็นบริษัทใหญ่ มีคนงานหลายพันคน และขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเป็นเส้นทางตามมา ทั้งคนไทยที่ยังอยู่ในประเทศ หรือ คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ หรือแม้แต่เรียนอยู่อเมริกาถือ F-1 ก็สามารถยื่นได้ เมื่อเราสามารถหานายจ้างได้ เมื่อได้กรีนการ์ด เราก็ทำงาน เก็บเงิน เรียนต่อ ป. โท ตามที่เราตั้งใจใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา พร้อมสิทธิต่างๆ เช่น การสามารถยื่นสอบสัญชาติอเมริกัน และสิทธิพลเมืองอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ เราจะได้เงินเกษียณหลังจากการทำงานมาใช้เหมือนคนอเมริกัน ถึงเวลาที่คุณลองวางแผนชีวิตอนาคตของตัวเองหรือยัง?
ชีวิตของเรา ใจเราเลือกเอง
Comments